วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

20. แนวคิดและทฤษฎี Hugo Munsterberg

20. แนวคิดและทฤษฎี Hugo Munsterberg

Hugo Munsterberg

 

          Hugo Munsterberg ( ปี 1863 – 1916 ) เกิดวันที่  1 มิถุนายน 1863 ที่เมือง Danzig ประเทศ Germany การศึกษา 1882 ที่  University of Geneva University of leipzig
            มันสเตอร์เบิร์ก เป็นนักจิตวิทยาของสถาบันฝึกอบรม วิลเลียม เจมส์ (William James)  นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน         ได้เชิญมันสเตอร์เบิร์กไปสอนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด     เป็นที่ที่เขาได้ทดลองประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ประกอบด้วย  การรับรู้   และความเอาใจใส่เขามีชื่อเสียงมากในวงการศึกษาของชาวอเมริกันเขาได้ถูกเชิญให้ไปบรรยายตามที่ต่างๆ  และเป็นเพื่อนกับประธานาธิบดีรูสเวลท์   (Theodore Roosevelt)   มันสเตอร์เบิร์กให้ความสนใจกับการประยุกต์จิตวิทยามาใช้ในการแก้ปัญหาในการทำงานศึกษาความแตกต่างระหว่างบุคคล  โดยมันสเตอร์เบิร์กเชื่อว่าจิตวิทยาสังคมสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหา ในทางปฏิบัติของอุตสาหกรรมหนึ่งของ มันสเตอร์เบิร์ก ที่นำมาใช้ทุกวันนี้มีการศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจทำให้คนขับรถบรรทุกมีความปลอดภัย เขาศึกษาอย่างเป็นระบบในลักษณะทั้งหมดของการทำงาน การพัฒนา ห้องปฏิบัติการที่ประดิษฐ์รถบรรทุก และรวมทั้งผู้ปฏิบัติการที่ดีสามารถเข้าใจพร้อมกันทั้งหมดเกี่ยวกับความก้าวหน้าของรถยนต์

สิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับ Hugo Munsterberg
       เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในการคิดค้นทฤษฎีองค์การสมัยใหม่เป็นผู้เริ่มต้นวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม เขียนหนังสือชื่อ Psychology and Industrial Efficiency,Hugo Munsterberg  จึงได้ชื่อว่าเป็น   บิดาแห่งจิตวิทยาอุตสาหกรรม

แนวคิดของ  Hugo Munsterberg
          แนวคิดเชิงพฤติกรรม  (The Behavior Viewpoint)  เน้นถึงความสำคัญของการเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์และการจูงใจเพื่อความสำเร็จ
         Hugo Munsterberg   เป็นผู้ริเริ่มวิธีการเกี่ยวกับจิตวิทยาอุตสาหกรรมหรือโรงงาน  หรือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับบุคคล    เพื่อปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตให้มากที่สุดการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ จะเป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับโน้มน้าวจิตใจหรือดึงดูดใจคนทำงาน
ผลงานของที่สร้างชื่อให้ Hugo Munsterberg   Psychology  and Industrial   Efficiency” 

สาระสำคัญ “Psychology  and Industrial   Efficiency
-  ใช้วิธีการสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพด้านจิตใจและคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดที่จะทำงานนั้น
-  ใช้วิธีการส่งเสริมสภาวะทางจิตวิทยาของคนในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อจูงใจให้คนงานทุกระดับมีความสามารถ 
    สร้างผลผลิตได้อย่างเต็มความสามารถเพื่อก่อให้เกิดผลผลิตสูงสุด และเป็นที่น่าพอใจโดยมีการฝึกอบรมคนงานเพื่อให้
    เกิดการเรียนรู้และนำประสบการณ์ใหม่ๆ มาใช้ทดแทนอย่างเหมาะสม
-  การให้ข้อเสนอแนะในการฝึกอบรมคนงาน  การบรรจุ แต่งตั้ง หรือการทำให้เกิดอิทธิพลต่อคนงานหรือจูงใจเพื่อให้
    เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สูด คือ ค่านิยมร่วมกัน ระหว่างผู้บริหารและคนงาน


รวบรวมข้อมูลโดย : นส.วรรณพรรณ รักษ์ชน (DBA04@SPU No.55560319)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น