วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

4.3 BSC

4  .   Framework Management Tool Box : ด้าน Controlling  ประกอบด้วย

4.3   BSC


1.  แนวคิดของBSC
Balanced Scorecard เป็นแนวคิดที่เกิดจาก Professor  Robert  Kaplan  อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย
Harvard  และ  Dr. David  Norton  โดยทั้งสอง ได้ศึกษาและสำรวจถึงสาเหตุของการที่ตลาดหุ้นของอเมริกาประสบปัญหาในปี 1987  และพบว่าองค์กรส่วนใหญ่ในอเมริกานิยมใช้แต่ตัวชี้วัดด้านการเงินเป็นหลัก ประกอบกับเกิดเหตุการณ์ประเภทนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992)  ซึ่งเป็นแค่มุมเดียวของความสำเร็จของบริษัท และมักเป็นจากอดีต ไม่ได้แสดงถึงศักยภาพและแนวโน้มบริษัทในอนาคต  จึงได้เสนอแนวคิดในเรื่องของการประเมินผลองค์กร  โดยทั้งคู่เสนอแนวคิด Balanced Scorecard ในค.ศ. 1992  ได้พิจารณาตัวชี้วัดในสี่มุมมอง  (Perspectives)  แทนการพิจารณาเฉพาะมุมมองด้านการเงินเพียงอย่างเดียว  ประกอบด้วย  1)มุมมองด้านการเงิน (Financial  Perspective), 2)  มุมมองด้านลูกค้า (Customer  Perspective), 3) มุมมองด้านกระบวนการภายใน  (Internal  Process  Perspective)  และ 4) มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา  (Learning  and  Growth  Perspective) (นภดล ร่มโพธิ์: 2553)
2.  องค์ประกอบของ Balanced Scorecard Framework

 
3.  เครื่องมื่อนี้ใช้เพื่ออะไร
                Balanced Scorecard (BSC)  เป็นเครื่องมือทางด้านการบริหารงานและประเมินผลทั่วทั้งองค์กรโดยการกำหนดวิสัยทัศน์(Vision) และแผนกลยุทธ์(Strategic plan) แล้วแปลผลลงไปสู่ทุกจุดขององค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายงานและแต่ละคน โดยระบบของ Balanced Scorecard(BSC) จะเป็นการจัดหาแนวทางแก้ไขและปรับปรุงการดำเนินงาน โดยพิจารณาจาผลที่เกิดขึ้นของกระบวนการทำงานภายในองค์กร และผลกระทบจากลูกค้าภายนอกองค์กร  นำมาปรับปรุงสร้างกลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีขึ้น
4.  ขั้นตอนของการจัดทำBalanced  Scorecard  ประกอบด้วย 1. การประเมินองค์กร, 2.การกำหนด/ทบทววิสัยทัศน์ขององค์กร, 3. การกำหนดมิติในการประเมิน, 4. การกำหนดเป้าหมายรวมขององค์กร, 5. การจัดทำแผนที่เชิงกลยุทธ์, 6.การกำหนดตัวชี้วัด, 7.การกำหนดเป้าหมาย, 8.การสร้างBSC ขององค์กร, 9.การถ่ายทอด BSC และKPI สู่หน่วยงานย่อย, 10.การกำหนดแผนปฏิบัติตาม BSCและการนำ BSC ไปปฏิบัติ
5.  ข้อดี
-          เป็นการประเมินในองค์รวม ที่ครอบคลุมมิติต่างๆ ทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน เพื่อให้เกิดความสมดุล
-        มีการเชื่อมโยงระหว่างการประเมินผลกับกลยุทธ์ขององค์กรอย่างเป็นระบบ ทำให้การประเมินมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
-        ใช้เป็นเครื่องมือในการผลักดันกลยุทธ์องค์กรได้
-         เป็นการวัดตามมุมมองแบบเหตุและผล (Cause and Effect)
-         มีการพัฒนาแนวคิดอย่างต่อเนื่องโดยนำผลจากประสบการในการปฏิบัติมาใช้ ทำให้สามารถนำไปใช้ได้จริงกับองค์กร
ข้อเสีย
-        เหมาะกับองค์กรที่มีการจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานขององค์กร
-        การประเมินผลแบบนี้ต้องมีความสมดุลในมิติตางๆ มิฉะนั้น BSC จะไม่สามารถใช้ได้อย่างเต็มที่
-       หากมีตัวชี้วัดหรือตัวเลขมากเกินไป จะทำให้ประสิทธิผลของเครื่องมือลดลง
-        BSC ต้องมีการทบทวนอยางต่อเนื่อง
6.  การนำเครื่องมือ ระบบ Balanced Scorecard(BSC) ไปใช้
มหาวิทยาลัยสยาม ซึ่งได้นำแนวคิดแบบ Balanced Scorecard ไปประยุกต์ใช้เพื่อการวัดผลการดำเนินงานและนำองค์กรไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างยั่งยืน   ซึ่งผลที่ได้นำBalanced Scorecard  ไปใช้ช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถตอบคำถาม 4 ข้อ ต่อไปนี้ คือ 1.คนทั่วไปและสาธารณชนมีมุมมองต่อมหาวิทยาลัยนี้อย่างไร และมหาวิทยาลัยควรตอบสนองลูกค้า (นักศึกษา  ผู้ปกครอง  นายจ้าง  ศิษย์เก่า) อย่างไร  (มุมมองลูกค้า)
2.  มหาวิทยาลัยต้องดีเด่นในเรื่องใด (มุมมองกระบวนการภายใน) ,3. มหาวิทยาลัยจะสามารถพัฒนาและสร้างสรรค์คุณค่าต่อไปได้อย่างไร (มุมมองการเรียนรู้และการพัฒนา)และ 4.ผลการดำเนินงานทางการเงินของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างไร (มุมมองด้านการเงิน)
7. กรณีศึกษา : บริษัท Ericsson Enterpriseบริษัทด้านธุรกิจโทรคมนาคมของประเทศสวีเดนเริ่มใช้ Scorecard ในเดือนมกราคม ปี 1999ได้รับยอมรับเป็นอย่างสูงในแง่ที่เป็นสื่อภาษากลางสำหรับข้อตกลง และความรับผิดชอบต่างๆ ก่อนหน้าที่จะนำเอา Scorecard เข้ามาใช้ มีตัววัดที่ไม่ใช่ด้านการเงินเพียง 2-3 ตัวเท่านั้นที่ใช้กันอยู่ Scorecards สำหรับหน่วยงานต่างๆ ภายในEE จะมีทั้งตัววัดที่กำหนดร่วมเอาไว้เหมือนกันและที่เลือกไว้เฉพาะแต่ละหน่วยงานเอง (พิพัฒน์ ก้องกิจกุล และคณะ:2549)

รวบรวมข้อมูลโดย : นส.วรรณพรรณ รักษ์ชน (DBA04@SPU No.55560319)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น